กฎหมายบรรจุภัณฑ์ ที่ผู้ประกอบการควรรู้

การออกแบบหรือเลือกใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าและบริการ นอกจาการายละเอียดที่ผู้ประกอบการต้องการระบุไว้บนกล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก หรือบรรจุภัณฑ์รูปแบบอื่นๆเพื่อบ่งบอกความเป็นตัวตนของสินค้าและแบรนด์ผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าได้รับรู้แล้ว รายละเอียดบางอย่างที่ระไว้ยังต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบรรจุภัณฑ์กำหนดไว้ด้วย

กฎหมายบรรจุภัณฑ์ ที่ผู้ประกอบการควรรู้

การที่ผู้บริโภคใส่ใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ รวมถึงการตื่นตัวของสังคมในการรณรงค์ให้รักษ์โลก ลดปัญหามลภาวะและสภาพแวดล้อมเป็นพิษ กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์จึงออกมาเพื่อป้องกันผู้ประกอบการทำผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ที่ควรรู้ มีดังนี้

1.พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.2466

เป็นพระราชบัญญัติที่ร่างขึ้น เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคสินค้าตามปริมาณที่กำหนด ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องระบุจำนวนหรือปริมาณไว้ในกล่องกระดาษ หรือระบุไว้ในฉลากบรรจุภัณฑ์ตามที่กฎหมายระบุหรือกำหนดไว้

2.พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522

สาระสำคัญในพระราชบัญญัติฉบับนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร และการขึ้นทะเบียนฉลากอาหาร

2.1 การขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าอาหารควบคุมเฉพาะ ต้องนำอาหารนั้นมาขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารก่อนเมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารแล้ว จึงผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายได้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งปรับทั้งจำ

2.2 การขอขึ้นทะเบียนฉลากอาหาร อาหารควบคุมเฉพาะที่กำหนดคุณภาพ และที่กำหนดให้มีฉลากต้องขึ้นทะเบียนอาหารและขออนุญาตใช้ฉลาก เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะทำการผลิตและนำฉลากอาหารมาแสดงไว้ที่กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก หรือกล่องบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มรูปแบบต่างๆ

องค์กรที่รับผิดชอบพระราชบัญญัติเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์

  1. สำนักงานกลางชั่งตวงวัด กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
  2. คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
  3. คณะกรรมการผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี
  4. สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์

  1. ส่วนอุตสาหกรรมการเกษตร สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หน้าที่รับผิดชอบได้แก่ ให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อการแก้ไขปัญหา และปรับปรุงเทคนิคการผลิต ตลอดจนการให้บริการ ข้อมูลข่าวสารอุตสาหกรรม และข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่สถานประกอบการ
  2. ส่วนบรรจุภัณฑ์ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หน้าที่รับผิดชอบได้แก่ ให้บริการแนะนำส่งเสริมและพัฒนาบรรจุภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการ เช่น การออกแบบกล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก หรือเลือกใช้เยื่อกระดาษขึ้นรูปให้เหมาะกับบรรจุภัณฑ์
  3. ศูนย์บริการการออกแบบ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออก หน้าที่รับผิดชอบได้แก่ การพัฒนาออกแบบสินค้า ส่งออกสำคัญ 4 ชนิด คือ เครื่องหนัง อัญมณี ผลิตภัณฑ์พลาสติก และของเด็กเล่น
  4. ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย นโยบายหลัก ได้แก่ สนับสนุนนโยบายการบรรจุภัณฑ์ของประเทศ เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กร เพื่อสนองความต้องการของผู้ประกอบการ รวบรวม แลกเปลี่ยน และบริการข้อมูลด้านวิทยา ศาสตร์ และเทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ และประสานงานระหว่างผู้ผลิต ผู้ใช้ ทั้งในและต่างประเทศ
  5. สถาบันค้นคว้าและวิจัยผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีขอบเขตการทำงาน เช่น ารควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อการบริโภคทั้งในประเทศและการส่งออก ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐเอกชน ในการวิจัยการศึกษา ค้นคว้า และฝึกอบรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางอาหาร

กฎหมายบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจที่กำลังคิดจะสร้างแบรนด์สินค้าเป็นของตนเองควรศึกษาไว้เป็นความรู้ นอกจากเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ยังมีสาระสำคัญในพระราชบัญญัติที่เป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจในหลายๆด้าน