กิจกรรมลดขยะของผู้บริโภค วิกฤตคือโอกาสของผู้ประกอบ

ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษที่เกิดจากขยะ ทั้งขยะอิเล็กทรอนิกส์และการกำจัดขยะที่เป็นสารอันตราย เช่น บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ที่ทำจากพลาสติกหรือโฟม ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์และรณรงค์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้ถุงผ้าเพื่อใส่สิ่งของแทนการใช้ถุงพลาสติก หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

กิจกรรมลดขยะของผู้บริโภค

กิจกรรมลดขยะของกลุ่มผู้บริโภคที่มีการรณรงค์เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และมีการจัดทำโครงการกำจัดขยะในรูปแบบต่างๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้อาจมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม หากไม่ปรับตัวหรือนำวิกฤตมาเป็นโอกาส ก็อาจถูกคู่แข่งแย่งพื้นที่ด้านการตลาดไปได้ไม่มากก็น้อย กิจกรรมลดขยะของผู้บริโภค ได้แก่

1.เลือกซื้อสินค้าที่บรรจุภัณฑ์นำไปรีไซเคิลได้

กลุ่มผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยของบรรจุภัณฑ์เลือกที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ที่เป็น กล่องกระดาษ แก้วกระดาษ หรือขวดแก้ว เพื่อช่วยลดปริมาณขยะ

2.เลือกซื้อสินค้าที่บรรจุภัณฑ์นำมาใช้ประโยชน์ได้

สินค้าเหมือนกันหรือเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน แต่บรรจุหีบห่อหรือใช้บรรจุภัณฑ์แตกต่างกัน ก็มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ผู้ประกอบการที่ปรับตัวตามทันกระแสรักษ์โลก นอกจากเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว อาจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้อีก  เช่น ใช้ทำกระปุกออมสิน ใช้ทำกล่องข้าว  ถึงแม้จะทำให้สินค้าราคาแพงขึ้นก็ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า

3.เลือกซื้อผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

จากการรณรงค์ให้กลุ่มผู้บริโภคเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคเพื่อลดปริมาณ โดยการเลือกซื้อสินค้าฉลากเขียวหรือสินค้าที่มีสัญลักษณ์ประหยัดพลังงาน

4.ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคโดยจัดทำโครงการลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดขยะและมลภาวะ เช่น ใช้ถุงผ้าใส่สิ่งของแทนถุงพลาสติก เลือกใช้บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เช่น กล่องกระดาษ แก้วกระดาษ จานกระดาษที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ

5.เลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กลุ่มผู้บริโภคตอบรับกระแสการอนุรักษ์ด้วยการเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์หรือผู้ผลิตที่มีภาพลักษณ์ชัดเจนในการรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ด้วยการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น เลือกใช้กล่องกระดาษลูกฟูก พาเลทลูกฟูก แผ่นกระดาษลูกฟูก และอื่นๆ

วิกฤตคือโอกาสของผู้ประกอบ

จากกิจกรรมลดขยะของผู้บริโภค จะเห็นว่าผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการที่ไม่ปรับตัวตามทันความเปลี่ยนแปลง กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจ หากใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส มีการปรับเปลี่ยนหรือออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยการเลือกใช้วัสดุหรือวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการจัดโปรโมชั่น จัดทำแผนการตลาดให้ตอบรับกับกิจกรรมของกลุ่มผู้เบริโภค และต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อนำวิกฤตมาพัฒนาปรับให้เป็นกลยุทธ์ นอกจากตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้แล้ว ยังสร้างแบรนด์สินค้าของเราให้เป็นที่จดจำของผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่งด้วย

ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ เพียงผู้ประกอบการกล้าที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหาร โทนี ร็อบบินส์ (Tony Robbins) นักพูดและครูผู้ฝีกสอนด้านการใช้ชีวิตกล่าวไว้ว่า “การกระทำไม่เปลี่ยน ผลลัพธ์ย่อมไม่เปลี่ยน” ดังนั้นเมื่อเมื่อผู้กระกอบการกล้าปรับเปลี่ยน ผลลัพธ์ของธุรกิจก็ปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นได้เช่นเดียวกัน