การแสดงข้อความบนฉลาก ตามที่คณะกรรมการอาหารและยากำหนด

ฉลากอาหารที่ติดไว้บนกล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องอาหารแช่แข็ง หรืออาหารปรุงสำเร็จต่างๆ นอกจากทำหน้า ที่สื่อข้อความแจ้งข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าให้ผู้บริโภคได้รับรู้แล้ว ข้อความที่แสดงบนฉลาก ยังต้องเป็นไปตามที่คณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย.กำหนดอีกด้วย

การแสดงข้อความบนฉลาก ตามที่คณะกรรมการอาหารและยากำหนด

โดยทั่วไปข้อความที่แสดงไว้บนฉลากสินค้าอุปโภคและบริโภค ซึ่งติดไว้บนกล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก หรือบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม จะแสดงเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่ต้องมีข้อความที่คณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. กำหนดไว้ ดังนี้

1.ชื่ออาหาร

2.เลขทะเบียนตำรับอาหาร หรือเลขทะเบียนให้ใช้ฉลากอาหาร

3.ชื่อและที่อยู่ผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย

4.ปริมาณอาหารโดยอาหารแห้ง เป็นก้อนหรือผง ให้กำหนดเป็นน้ำหนักสุทธิ อาหารแหลว แสดงเป็นปริมาณสุทธิ ส่วนอาหารครึ่งของแหลวของแข็ง แสดงได้ทั้งสองรูปแลล รวมไปถึงอาหารรูปแบบอื่นๆให้แสดงเป็นน้ำหนักสุทธิ

5.รายละเอียดส่วนประกอบที่แสดงเป็นร้อยละ ให้จัดเรียงจากปริมาณมากไปหาน้อย

6.รายละเอียดวัน เดือน ปี ที่ผลิต และวันหมดอายุ

7.คำแนะนำการเก็บรักษา

8.วิธีและขั้นตอนการปรุงเพื่อรับประทาน

9.ระบุข้อความ “ใช้วัตถุกันเสีย” เมื่อมีการใช้ในผลิตภัณฑ์

10.เมื่อมีการใช้สีสังเคราะห์หรือสีธรรมชาติให้ระบุรายละเอียดไว้

11.ระบุข้อความและชนิดของวัคถุปรุงอาหาร เมื่อมีการใช้

12.ระบุวิธีการใช้และข้อความเฉพาะกลุ่ม อายุของผู้บริโภค

13.การตกแต่ง กลิ่น รส ให้ระบุว่าใช้การแต่ง กลิ่น รส แบบใด

14.ข้อความที่ อย.ประกาศกำหนดให้มีสำหรับอาหารบางชนิด เช่น “ห้ามรับประทาน” “ห้ามใช้เลี้ยงทารก”

หลักการออกแบบฉลากที่ส่งผลดีต่อธุรกิจ

การติดป้ายหรือฉลากไว้ที่บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก หรือบรรจุภัณฑ์รูปแบบอื่นๆ นอกจากเป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า เป็นการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางอ้อมต่อธุรกิจแล้ว การออกแบบฉลากที่ส่งผลลัพธ์ทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์และสินค้าของเราได้ดีมีหลักในการออกแบบ ดังนี้

1.มีข้อมูลเนื้อหาที่สำคัญครบถ้วน ตามที่ คณะกรรมการอาหารและยากำหนด

2.ตัวหนังสืออ่านง่าย สะอาดตา การเลือกใช้สีของตัวอักษรควรสัมพันธ์กับประเภทของสินค้า

3.รูปแบบตัวหนังสือทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ควรเลือก Font ที่มีความแตกต่างกันอย่างลงตัว เนื่องจากการใช้ Font ที่แตกต่างเป็นตัวช่วยในการสื่อความหมายของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

4.การจัดวางตัวอักษรเป็นระเบียบ เว้นช่องว่าง หรือ จัดเรียงความสำคัญของข้อมูลให้น่าสนใจและเข้าใจง่าย

5.เลือกใช้ภาพประกอบอย่างมีศิลป์และสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ

การแสดงข้อความบนฉลากเป็นขอกำหนดที่ต้องทำตามกฎหมาย แต่ผู้ประกอบการที่มีความเข้าใจและมีทักษะในการบริหาร สามารถออกแบบฉลากหรือป้ายแล้วนำมาติดไว้บนบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม กล่องกระดาษ กล่องลูกฟูก หรือบรรจุภัณฑ์รูปแบบอื่นๆ เพื่อกระตุ้นความสนใจทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของเราได้ ถือเป็นเทคนิคทำการตลาดที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่มแต่ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ